วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551

Dat-MD-Camera Edit

DAT (Digital Audio Tape)
DAT (Digital Audio Tape) เป็นมาตรการชั้นกลางและเทคโนโลยีสำหรับเทปแบบใหม่ แทนระบบเสียงเทปแบบเก่าที่เรียนว่า เทปคาสเซ็ท(Cassete Tape) ซึ่งให้คุณภาพเสียง ที่ดีระดับหนึ่งในช่วงใช้งานใหม่ ๆ แต่เมื่อใช้ไปนาน ๆ คุณภาพเสียงจะลดลงตามการเรียงตัวของชิ้นแม่เหล็กเล็กๆ ที่เรียงตัวกันเป็นระเบียบ แต่ DAT จะให้ระดับเสียงที่มีคุณภาพสูง ไดรฟ์ของ DAT เป็นเทปชนิดโดยการหมุนหัวเทปแบบเดียวกับเทปธรรมดา ไดร์ฟของ DAT สามารถบันทึกที่ 44.1 KHz DAT กำลังเป็นเทคโนโลยีมาตรฐานในการบันทึกเทปต้นแบบ (master) การนำเข้าและออกแบบของ DAT ระดับสูงยินยอมให้ผู้ใช้ โอนย้ายการบันทึกจากเทปแบบ DAT ไปยังเครื่อง audio workstation สำหรับการแก้ไข ขนาดที่เล็กและราคาต่ำทำให้ เป็นวิธีการในการทำเทปเบื้องต้น เพื่อนำไปผลิตเป็นแผ่นซีดีต้นแบบ











ตัวกลางชนิดอื่นๆ นอกจาก DAT ได้แก่ - Digital Data Storage (DDS 1 ถึง DDS 3) - Optical Disk - เทป VHS



คุณลักษณะ และคุณสมบัติของเทปเสียงดิจิตอล
เล็กเกือบเท่าตลับเทปเพลงทั่วไป กว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาว 3 นิ้ว หนา 0.5 นิ้ว สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท โดยสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 3 GB ขึ้นไปต่อ 1 ม้วน มีการนำวิธีบันทึกข้อมูลแบบ Helical-scan recording ซึ่งเหมือนกับที่ใช้ในเครื่องเล่นวีดีโอ เทคนิคนี้จะมีการวางหัวอ่าน-เขียนเทปให้อยู่ในแนวเอียงเล็ก น้อย เมื่อเทปวิ่งผ่านหัวอ่านก็จะมีการเขียนข้อมูลลงในเทปแบบเฉียง ๆ การบันทึกข้อมูลแบบนี้ทำให้บันทึกได้เร็วกว่า QIC และความจุข้อมูลก็สูงกว่า แต่ราคาค่อนข้างสูง
• DAT ถือว่าเป็นเทประบบดิจิตอลที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในวงการ Audio Production และ Broadcast โดยที่เทป DAT พัฒนาออกมาทีหลังแผ่น CD และเป็นสื่อดิจิตอลสื่อเดียวในขณะนั้นที่สามารถบันทึกได้ ในขณะที่ CD เป็นสื่อดิจิตอลที่เล่นอย่างเดียว
• เทป DAT มีลักษณะคล้ายกับเทป cassette แต่มีขนาดเล็กกว่า
• เครื่องเล่นเทป DAT จะสามารถเล่นและเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วกว่าเทป analog เดิม
• เป็นเทปบันทึกเสียงระบบดิจิตอลที่มีคุณภาพสูง
• สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าซีดีรอม มีความจุสูงเป็นกิกะไบท์
• การเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบเรียงตามลำดับ
• มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูง
• นิยมใช้ในการสำรองข้อมูล
ข้อดีของเทปแม่เหล็ก 1. สะดวกต่อการโยกย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง 2. เหมาะกับงานสำรองข้อมูล (Backup data) ในหน่วยงาน 3. เหมาะกับงานที่มีการเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับข้อมูล 4. เรคอร์ดมีความยาวได้ไม่จำกัด 5. สามารถนำม้วนเทปที่มีการบันทึกไปแล้ว กลับมาใช้งานได้อีก


ข้อเสียของเทปแม่เหล็ก 1. ไม่สามารถเรียกดูข้อมูลที่เก็บบันทึกอยู่ในเทปได้โดยตรง 2. การเข้าถึงข้อมูลต้องเป็นแบบตามลำดับ นั่นคือการค้นหาข้อมูลที่ต้อง ค้นหาตั้งแต่ต้นเทปไปจนถึงปลายเทป ซึ่งจะเสียเวลาพอสมควร
ปัจจุบัน การเกิดของ DAT ช้าไปที่จริงคุณภาพเสียงที่ได้ดีทีเดียวแต่ปัจจุบันได้ถูก VCD มาทำตลาด ทำให้อนาคตของ DAT ไม่สดใสและตอนนี้ก็เลิกใช้ไปแล้ว แต่อาจจะมีบ้างในสตูดิโอ








ตัวอย่างตลับเทปแบบ DAT








ตัวอย่างตัวขับเทปแบบ DAT











ตัวอย่างเทป DAT ยี่ห้อ TDK











ตัวอย่างเทป DAT ยี่ห้อ TEAC
MiniDisc
MD ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในตลาดผู้บริโภคทั่วไป (Consumer) ทั่วไปมากกว่าที่จะในมาใช้ในระดับมืออาชีพอย่างจริงจัง ซึ่งมีลักษณะจำเพาะของ MD ดังนี้
- เป็นระบบดิจิตอล
- มีขนาดเล็กกว่า CD (Disc ที่ใช้ในการบันทึกมีความกว้างเพียง 2.5 นิ้ว)
- บีบอัดสัญญาณในระบบ ATRAC ให้คุณภาพเสียงในระดับ CD (44.1 kHz)
- สามารถบันทึกได้
- เข้าถึงข้อมูลได้เร็ว เหมือน CD
- มีน้ำหนักเบา

แม้ว่า MD จะถูกสร้างขึ้นมาสำหรับตลาดผู้บริโภคทั่วไป แต่ด้วยประสิทธิภาพอันเกินตัวของมัน ทำให้คนในวงการ Professional เริ่มมองเห็นความสำคัญ จึงได้มีการนำเอา MD ไปพัฒนาศักยภาพให้สูงขึ้นจนสามารถนำมาใช้งานในระดับโปรได้ โดยนำไปใช้ในรูปแบบของการบันทึกแบบ Multitracซึ่งสามารถบันทึกได้สูงสุดถึง 8 track ในแผ่น MD เพียงแผ่นเดียว
ในการบันทึกแผ่น MD แบบปกติจะบันทึกได้ 74 นาที (เท่ากับ CD) แต่ถ้าบันทึกแบบ MultiTrack ในระบบ 8 แทรค จะเหลือเพียง 18 นาทีและ 4 แทรคจะเหลือเพียง 37 นาที





แผ่น MD เทียบกับมือของเรา

















เปรียบเทียบ MD กับ แผ่น Disk, cassete tape และ DAT

เครื่องเล่น MiniDisc มีคุณสมบัติโดยประมาณดังต่อไปนี้
ระยะเวลาในการใช้งาน ประมาณ 18 ชั่วโมง ไฟล์เสียงที่รองรับ ATRAC, ATRAC3, ATRC3 Plus และ MP3* การเชื่อมต่อ USB 1.1 หรือ 2.0 พอร์ต (Input) 3.5 มิลลิเมตร มินิแจ็ก และ ออปติคอลเอาต์* พอร์ต (Output) 3.5 มิลลิเมตร ไมโครโฟน/ไลน์อิน และ ออปติคอลอิน การป้องกันการข้ามแทร็ก มี ชนิดของสื่อ Removable MiniDisc(MD) ราคา ประมาณ 7,500 - 14,000 บาท
เครื่องเล่นบางรุ่นเท่านั้นที่มีความสามารถนี้

ตัวอย่างเครื่องเล่น MD
บริษัท Sony เป็นผู้คิดค้น เครื่องเล่น MiniDisc (MD) เพื่อนำมาแทนเครื่องเล่นเทปแบบพกพา ข้อได้เปรียบของมันก็คือ ในระยะหลัง รูปแบบของไฟล์จะเป็นดิจิตอล เช่น คอมแพกต์ดิสก์ แต่จะไม่เหมือนกับเครื่องเล่น CD แบบพกพาตรงที่ MD มีขนาดเล็กกว่าและสามารถใส่กระเป๋ากางเกงได้ เครื่องเล่น MD เครื่องแรกถูก Sony ผลิตขึ้นเมื่อ พฤษภาคม 1991 และมันได้ถูกผลิตออกมาเรื่อยๆ ด้วยมาตรฐานการบีบอัดที่ดีขึ้น ซึ่งทำให้ขนาดของไฟล์ลดลงด้วย โดยที่ไม่ต้องเพิ่มขนาดของแผ่น MD ผู้ใช้สามารถบีบอัด CD เพลงประมาณ 2 - 4 แผ่น โดยการเข้ารหัสเป็นมาตรฐาน LP2 หรือ LP4 ช่นเดียวกับเครื่องเล่น CD และเครื่องเล่น MD สามารถเก็บเป็นแผ่นดิสก์ไว้ได้ ข้อได้ เปรียบของการเก็บแผ่นดิสก์ไว้ได้ คื สามารถประหยัดเวลาในการถ่ายโอนข้อมูลในแต่ละครั้งได้ ข้อเสียเปรียบ ก็คือ อาจจะมีความยุ่งยากในการพกพาเมื่อต้องการที่จะเปลี่ยนแผ่น มีผู้คนมากมายที่ชอบ MD มากกว่า เพราะพวกเขาสามารถบันทึกเสียงจากที่ต่างๆ เพียงการเชื่อมต่อสายแบบอะนาล็อกอย่างง่ายๆ หรือสายแบบออปติคอล โดยใช้ 3.5 มิลลิเมตร มินิแจ็กเอาต์พุตและถ่ายโอนข้อมูลโดยใช้สาย USB นี่คือวิธีการที่ประหยัดเวลาได้มากทีเดียว




เครื่องเล่น MD









ตัวอย่างของเครื่องเล่น MD แบบต่าง ๆ

ตอนแรก Walkman ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อกะจะยั่วกิเลสพวกวัยรุ่นขี้เห่อหรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอารมณ์อย่างขนานใหญ่ของเหล่าเด็กวัยรุ่นพฤติกรรมแปรปรวนหรอกนะ ความจริงมันเจตนาออกมาเพื่อช่วยกู้หน้าแผนกเครื่องเล่นเทปคาสเซทของ Sony ที่กำลังตกต่ำไว้ไม่ให้ต้องอับอายถึงขั้นกระทำอัตวินิบาตกรรมแบบฮาราคีรี เพราะถูกยุบไปรวมกับแผนกขายตู้เก็บเอกสาร โดยพื้นฐานแล้วมันเป็นแค่เครื่องอัดเสียงแบบพกพาของพวกผู้สื่อข่าวที่ถูกเด็ดเอาหัวอ่านออกไปแล้วเอาช่องเสียบ หูฟังเข้ามาใส่แทน การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ตอนหลังกลายเป็นงานอัจฉริยะไปเลย น่าแปลกใจจริงที่ตอนนั้นไม่ยักกะมีใครนึกถึงเครื่องเล่นเพลงส่วนตัวกันมาก่อน ในช่วงแรกๆ พวกร้านเชนสโตร์หรือห้างร้านใหญ่ๆ ที่มีหลายสาขาหลายเจ้าไม่เห็นถึงความน่าสนใจของมัน แต่บรรดาร้านค้าสำหรับลูกค้าวัยโจ๋กลับปิ๊งมันในพริบตา ร้านเล็กๆ พวกนี้สั่งของไปกันยกใหญ่แล้ว พวกร้านใหญ่ๆ ถึงค่อยเริ่มเอาอย่างบ้าง ตอนหลังเรื่องนี้เลยกลายมาเป็นข้อแก้ตัวและเป็นการพิสูจน์ถึงความสามารถรวมถึงวิสัยทัศน์ของนาย Akio Morita ผู้ก่อตั้ง Sony และเป็นผู้ที่มีส่วนผลักดันเจ้า Walkman นี่มาตั้งแต่แรก “เราไม่ได้ทำการวิจัยตลาดสำหรับ Walkman หรอก – การวิจัยตลาดน่ะอยู่ในหัวของผมอยู่แล้ว! คุณเห็นไม๊ว่าเราน่ะเป็นฝ่ายสร้างตลาดต่างหากล่ะ” เขากล่าวในภายหลัง
Walkman กลายมาเป็นปรากฏการณ์ชนิดหนึ่งเลยทีเดียว ก็เหมือนกับ iPod ในทุกวันนี้ มันไม่ได้เป็นแค่เพียง “สินค้า” เท่านั้น แต่ยังกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมด้วย บรรดาหมอๆ ทั้งหลายรีบออกโรงมาเตือนว่ามีคนรุ่นหนึ่งกำลังจะหูหนวก (ความจริงก็ไม่ยักกะมี) ขนาด Cliff Richard ยังแต่งเพลงชื่อ Wired For Sound เกี่ยวกับ Walkman เลย นี่น่ะถือเป็นการแสดงความชื่นชมเลยเชียวนะ “Walkman น่ะเป็นสิ่งที่โปรโมทตัวมันเองได้เป็นอย่างดี” Paul Farley นักสะสม Walkman (ที่มีอยู่ 47 เครื่องกับที่กำลังจะนับต่อไปอีก…) และนักเขียนเรื่องดนตรีกล่าว “พอเห็นใครสวมหูฟังพร้อมกับได้ยินเสียงเพลงดังออกมารับรองคุณก็ต้องอยากได้บ้างแหละ ขนาดนักร้องอย่าง Cliff Richard สวมแล้วยังดูดีเลย” iPods ใช้คอนเซ็ปท์เรื่อง “หูฟังเป็นเครื่องโปรโมท” ได้ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง โดยใช้ร่วมกับตัวเครื่องเริ่ดๆ สีขาวเสียงแหลมของมัน นอกจากนี้ iPod ยังเป็นตัวมารของเรื่องเพราะมันแย่งชิงความเด่นดังของ Walkman ไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม iPod คงไม่มีทางได้เป็นสัญลักษณ์เหมือนอย่าง Walkman หรอก เพราะถึง iPod จะเป็นคำเรียกย่อๆ ของเครื่องเล่น MP3 ทั่วๆ ไป แต่ก็ไม่มีใครเคยพูดว่า “ฉันมี Creative Zen iPod” เลยซักคน ไม่เหมือนกับ Walkma ที่กลายมาเป็นคำสามัญนามสำหรับเครื่องเล่นเทปไม่ว่ายี่ห้อไหน เด็กๆ ในโรงเรียนจะเรียกเครื่องเล่นเพลงพกพาของตัวเองว่า Walkman ถึงจะไม่ใช่ยี่ห้อมันก็เหอะอย่างเช่นว่า Aiwa Walkman, Akai Walkman Walkman กลายเป็นสัญลักษณ์ของวงการไปแล้วแต่ Sony ก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้นภายในห้าปีหลังเปิดตัว Walkman รุ่นต่อๆมาถูกประดับประดาไปด้วยฟังก์ชันที่มีประโยชน์มากมายอาทิเช่น – ฟังก์ชันอัดเสียง, วิทยุ FM, ระบบลดเสียงรบกวนแบบ Dolby, เล่นเทปกลับหน้าได้อัตโนมัติ, ปุ่มแบบกึ่งสัมผัส,ปุ่มกดแบบแบนราบ – แล้วยังมีของเด็ดๆ กลเม็ดแปลกๆ ในการดึงดูดความสนใจเพิ่มเติมอีกหลายอย่าง เช่นแผงโซลาร์เซลล์สำหรับรับพลังงานแสงอาทิตย์ หรือรุ่นที่มีที่ใส่เทปคู่ Walkman บางรุ่นยังเล็กกว่าตลับเทปเสียอีก นอกจากนี้ก็มีWalkman (Discman)สำหรับเล่นแผ่นซีดี ที่ออกมาแทบจะในวันแรกที่ฟอร์แมท ใหม่อันสดใสเริ่มใช้กันในยุค 80 เลย
คู่แข่งต่างพากันดิ้นรนเพื่อก้าวให้ทัน Sony เหมือนอย่างที่คู่แข่งของ Apple กำลังทำอยู่ใน ตอน นี้ถึง Sony จะไม่ใช่ผู้ริเริ่มไปเสียหมดทุกอย่าง แต่ก็ปรับปรุงตัวเองและสรรหาสิ่งใหม่ๆมานำเสนออย่างไม่หยุดยั้ง สามารถคว้าเอาส่วนที่ดีที่สุดจากไอเดียของคนอื่นๆ มาประยุกต์ใช้ได้อย่างรวดเร็วแล้วยังทำทุกอย่างออกมาได้ดีเลิศสมราคา โดยให้ทั้งเสียงอันยอดเยี่ยมไปพร้อมๆ กับตัวเครื่องที่งามสุดๆ
Walkman คลาสสิคหลากรุ่นที่ยอดเยี่ยมที่สุด

ปี 1982 รุ่น TPS-L2เครื่องรุ่นเปิดตำนาน มีช่องเสียบหูฟังสองช่องกับปุ่ม “hot line” ที่จะหรี่เสียงเพลงลง และส่งเสียงจากไมโครโฟนตรงสู่หูฟังเพื่อให้คุยกับคนอื่นๆ ได้ด้วย

ปี 1982 รุ่น WM-F2รุ่นนี้เพิ่มฟังก์ชั่นอัดเสียงกับวิทยุ FM รูปทรงยังดูเร้าใจแบบร่วมสมัยอยู่เลย คุณสมบัติน่าประทับใจจริงๆ แล้วยังกะทัดรัดและดูดีมากสำหรับการเป็น Walkmans ยุคแรกๆ เห็นทีไรก็ยังรู้สึกประทับใจ

ปี 1982 รุ่น D50รุ่นนี้เป็น “Discman” ที่ใช้เล่นซีดีรุ่นแรกสุดเลย วางตลาดหลังฟอร์แมทแบบซีดีเริ่มใช้แค่แป๊บเดียว แต่ตอนนั้นยังไม่มีระบบป้องกันการสะดุดและต้องใช้แบตเตอรี่ภายนอกขนาดใหญ่ ถึงแม้จะมีข้อกังขาเรื่องพกพาสะดวก แต่สมรรถนะกับขนาดของมันก็น่าทึ่งเอามากๆ

ปี 1983 รุ่น WM-F5 Walkman แบบ “สปอร์ต” รุ่นแรก ทำจากพลาสติกสีเหลืองสด รอยต่อต่างๆ ปิดสนิทอย่างแน่นหนาด้วยยางซีลและมีที่อุดช่องกระแสไฟเข้ากับช่องเสียบหูฟัง เพื่อให้ “กันน้ำกระเซ็นได้” (คือ มันจะไม่ระเบิดถ้าน้ำเข้า) รุ่นนี้คงจะดูเหมือนมาจากยุค 80 มากกว่านี้ถ้าสวม legwarmers (คล้ายถุงเท้าที่สวมใต้เข่าถึงข้อเท้า) กับไว้เคราเขียวๆ ตามแฟชั่นยอดฮิตของสาวๆ หนุ่มๆ ในยุคนั้น


ปี 1983 รุ่น WM-10 Walkman สำหรับเล่นเทปคาสเซตที่เล็กที่สุดเท่าที่เคยมีมา เล็กกว่าตลับเทปเสียอีก คุณถึงกับต้องเลื่อนฝาออกเวลาจะเอาเทปใส่เข้าไป!

ปี 1985 รุ่น WM-W800 Walkman “ดับเบิ้ล” ประหลาดๆ ที่ใส่เทปคาสเซทได้สองม้วน และอัดจากม้วนนึงไปอีกม้วนนึงได้ ถึงจะอันใหญ่เทอะทะ และไม่ค่อยมีประโยชน์ซักเท่าไหร่ แต่ก็เหมาะสำหรับนักสะสมตัวยง

ปี 1986 รุ่น WM-D3 Walkman สำหรับมือ “โปร” ระดับไฮเอนด์ที่ใช้กันในหมู่พวกแอบอัดคอนเสิร์ตกับใช้ในงานอัดเสียงภาคสนามซึ่งจนถึงทุกวันนี้ก็ยังมีให้เห็น ถึงรุ่น D6 ที่ออกมาก่อนหน้านี้จะได้ชื่อว่าให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าและมีลูกเล่นมากกว่า แต่ก็อันใหญ่กว่ากันเยอะมาก

ปี 1987 รุ่น WM-F107 Walkman แบบสปอร์ตที่ว่ากันว่ากันน้ำได้อีกรุ่นหนึ่ง แต่อันนี้น่ะไม่เหมือนใคร – เพราะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ถ้าเอาวางไว้กลางแดดก็จะเป็นการชาร์ตแบตเตอรี่ในตัวที่มีพลังงานพอจะใช้เปิดฟังวิทยุได้

ปี 1990 รุ่น WM-DD33 Walkman รุ่นที่ดีที่สุดและเป็นรุ่นสุดท้ายที่มีมอเตอร์ขับ “discdrive” (ซึ่งช่วยลดการสั่นสะเทือนของเสียง) รุ่นนี้ เป็นรุ่นคุณภาพไปเสียทุกอย่าง แต่ในรูปนะเป็นรุ่น DD ซึ่งเป็นรุ่นก่อนหน้าที่มีรูปทรงไม่เย้ายวนเท่า

ปี 1994 รุ่น MZR-1 Walkman ที่ใช้เล่น MiniDisc รุ่นแรก อุดมไปด้วยคุณสมบัตินานัปการ แถมยังมีช่องต่อสัญญาณ digital out ด้วย แต่บางทีเสียงก็ยังไม่แน่นพอ คงเป็นเพราะระบบบีบอัดข้อมูล ATRAC ของ Sony ในตอนนั้นที่ยังไม่สมบูรณ์เท่าในปัจจุบัน

ปี 2001 รุ่น D-EJ925 Discman รุ่นท้ายๆ ที่คลาสสิคอีกรุ่นหนึ่ง ขนาดของมันใหญ่กว่ากล่องใส่ซีดีแบบซิงเกิ้ลหน่อยเดียว แถมยังเล่นโดยแทบไม่สะดุดเลยเป็นเวลา 40-50 ชั่วโมงด้วยแบตสองก้อน

ปี 2005 รุ่น A1000 เครื่องเล่น MP3 เข้าสมัยรุ่นแรกของ Sony – รู้สึกจะออกช้าไปหน่อย รุ่นนี้ดีตรงคุณภาพเสียงที่เป็นเลิศกับแบตเตอรี่อยู่ได้นาน ซึ่งเป็นข้อดีตลอดกาลของ Sony แล้วยังมีความจุ (6GB) มากกว่า iPod nano ของ Apple เสียอีก

ปี 2006 โทรศัพท์ Sony Ericsson รุ่น W810i โทรศัพท์ Walkman ที่ดีที่สุด ณ ตอนนี้ (รุ่น W550i สไตล์เด็กซิ่งดูเหมือนจะโหวกเหวกไปสักหน่อย) รุ่นนี้ Sony คุยว่าให้เสียงคุณภาพดีมาก และมีการ์ดความจุ 512MB ที่มากเอาการแถมมาในกล่อง

ปี 2006 โทรศัพท์ Sony Ericsson รุ่น W950i จากคำให้สัญญาเรื่องความจุ 4GB พร้อมหน้าจอระบบสัมผัส ทำให้โทรศัพท์รุ่นนี้น่าจะช่วยให้ชื่อของ Walkman กลับมาอยู่ในตำแหน่งผู้นำได้อีกครั้ง แต่คอยดูให้ดีอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ส่วน Apple น่ะคงหนาวๆ ร้อนๆ เตรียมรับมือนั่งจ้องตาเขม็งเป็นแน่
ต่อมาในปี 1996 ก็เป็นรุ่น MZR-30 ที่เล่น MiniDisc ได้ ดูเหมือน MD จะเชยไปหน่อยแล้วตอนนี้ แต่ตอนนั้น เห็นแล้วประมาณว่า รุ่น 30 น่ะไม่เหมือน MD Walkman รุ่นแรกๆ ของ Sony บางรุ่น เพราะมันเสียงดี วัสดุและงานผลิตก็เยี่ยมแถมยังอัดเสียงได้ราวกับฝันไป คุณจะตั้งให้มันแสดงชื่อเพลงก็ได้ แต่แล้ว ก็มีบางอย่างเกิดขึ้น ถ้าจะให้เจาะจงลงไปก็หมายถึง iPod น่ะ ดูเหมือน Sony จะคิด หรือไม่ก็หวังว่า ไอ้เจ้า iPod จะเป็นแค่ประกายไฟวาบเดียว แล้วจากนั้น ก็คงไม่มีฟอร์แมทอะไรที่จะน่าใช้เท่ากับระบบ ATRAC ของ Sony ที่ออกแบบมาสำหรับ MiniDisc อีกแล้ว หรือไม่ MP3 กับฟอร์แมทไฟล์เพลงแบบ AAC (Advanced Audio Coding) ของ Apple ก็คงจะหมดกระแสไป ก็เพราะ Sony มัวแต่เผลอ จึงถูกคู่แข่งซัดล้มลงจนได้
เทปไดร์ฟ
เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีแม่เหล็ก ผิวหน้าของเทปเหมือนกับเทปบันทึกเสียง แต่ข้อมูลที่เขียนเป็นข้อมูลดิจิตอลไม่ใช่ข้อมูลอนาลอก โดยทั่วไปจะใช้เทปไดร์ฟเก็บข้อมูลสำรองจากฮาร์ดดิสก์เพื่อ ป้องกันกรณีฮาร์ดดิสก์เสียหาย การอ่านและเขียนข้อมูลเป็นแบบลำดับทำให้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลช้า เพราะขึ้นกับเครื่องอ่านเทปว่ามีความเร็วเท่าใด และขึ้นกับความยาวของเทป และตำแหน่งของหัวอ่านว่าอยู่ห่างจากตำแหน่งที่ต้องการอ่านเท่าใดด้วย





การใช้เทปเหมาะสำหรับงานสำรองข้อมูลมาก เพราะการสำรอง ข้อมูลมักมีปริมาณข้อมูลมาก ใช้เวลานาน ถ้าใช้แผ่นดิสก์ที่ความจุ น้อยก็ต้องใช้หลายแผ่น ไม่เหมาะกับงาน ดังนั้นการสำรองข้อมูลต้องการสื่อที่มีความจุมาก ราคาถูกและไม่ต้องการความรวดเร็วใน การเข้าถึงข้อมูลมากนัก เนื่องจากข้อมูลที่สำรองลงสื่อมักเป็นข้อมูล
ที่เก็บไว้นานๆ ไม่ได้นำมาใช้



เทปแม่เหล็ก (Magnetic tape)
หมายถึง แถบที่ทำด้วยพลาสติกฉาบออกไซด์ของโลหะ มี ลักษณะคล้ายเทปหรือแถบบันทึก เสียงม้วนอยู่บนวงล้อ มีหลายขนาด เป็นต้นว่า ขนาดยาว 2,400 ฟุต 1,200 ฟุต และ 600 ฟุต ตัวเทปกว้าง 1/2 นิ้ว บันทึกข้อมูลได้ประมาณ 800, 1,600, 3,200, 6,250 BPI (Byte per inch) ตัวอักษรต่อความยาวของเนื้อเทป 1 นิ้ว เทปหรือแถบบันทึกนี้สามารถเป็นได้ทั้งหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผล คอม พิวเตอร์จะมีเครื่องมือที่ใช้อ่านและบันทึกข้อมูลลงในเทปเรียกว่า หน่วยขับเทป (tape drive) สามารถบันทึกข้อมูลใหม่ลงทับบนข้อมูลเก่าได้เหมือนการบันทึกเพลง ข้อมูลเดิมจะหายไปโดยอัตโนมัต ข้อ เสียของเทปก็คือ การค้นหาข้อมูลทำได้ช้า เพราะต้องเริ่มตั้งแต่ต้นเทปเสมอ ถ้าข้อมูลอยู่ปลายเทป จะเสียเวลานาน การค้นหาแบบนี้เรียกว่าการเข้าถึงแบบเรียงลำดับ (sequential access) ซึ่งตรงข้ามกับการเข้าถึงแบบสุ่ม ( direct access) ของจานบันทึก เทปแม่เหล็กรุ่นใหม่คือ DAT (Digital Audio Tape) มีขนาดใหญ่กว่าเครดิตการ์ดเล็กน้อย สามารถจุข้อมูลได้มากถึง 2-5 GB และ R-DATs สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 14 GB ความยาวเทป 90 เมตร
เทปแม่เหล็ก เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองมีลักษณะคล้ายเทปเสียง มักจะในงานแบ็คอัฟข้อมูล เผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉิน โดยจะเข้าถึงข้อมูลแบบลำดับ (Sequence Access) นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลางขึ้นไป ตัวเทปมีลักษณะเป็นสายเทปแบบม้วนเปลือย (Open Reel) หรือแบบตลับ (Cassette) ก็ได้
สายเทปทำด้วยพลาสติกชนิดพิเศษ เคลือบด้วยออกไซด์ของเหล็ก (Iron Oxide) สารป้องกันการสึกหรอ และสารก่อเกิดจุดแม่เหล็ก (Magnetized Spot) โดยมีมาตรฐานความกว้างของสายเทป คือ ขนาด 1/2, 3/4 และ 1 นิ้ว มีความยาวตั้งแต่ 600 - 3,600 ฟุต ม้วนเก็บในวงพลาสติก (Reel) ขนาดเส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 นิ้ว การอ่านเขียนจะอาศัยเครื่องอ่าน/เขียนเทป (Tape Drive) บรรจุเทป 2 ข้าง (ซ้าย-ขวา) โดยเครื่องจะหมุนเทปจากม้วนเทปเต็มด้านซ้าย เรียกว่า ม้วนเทปแฟ้มข้อมูล (File/Supply Reel) ไปยังม้วนเทปเปล่าด้านขวา เรียกว่า ม้วนเทปประจำเครื่อง (Machine/Tack-up Reel) ม้วนเทปจะมีอุปกรณ์ป้องกันการเขียนหรือแก้ไข บริเวณส่วนกลางของม้วนเทป เรียกว่า วงแหวนป้องกันแฟ้ม ข้อมูล (File Protection Ring)



การบันทึกข้อมูลจะอาศัยการหมุนสายเทปผ่านหัวอ่าน/เขียนข้อมูล ซึ่งจะทำให้สารแม่เหล็กที่เคลือบบนสายเทป รวมตัวกันเป็นจุดแม่เหล็ก ซึ่งมีความเข้มมากน้อยตามรหัสของข้อมูลที่ได้รับจากหัวเทป และสามารถบันทึกซ้ำได้ประมาณ 20,000 - 50,000 ครั้ง (ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเนื้อเทปและสารเคลือบ)
ความจุข้อมูล พิจารณาจากจำนวนข้อมูลต่อความยาวของสายเทป 1 นิ้ว (Byte per Inch : bpi) โดยทั่วไปมีความจุ 5 - 28 MB และโดยทั่วไปจะมี 2 แบบ คือ แบบ 7 Track และ 9 Track โดยใช้รหัส BCD และ EBCDIC ตามลำดับ
เครื่องอ่านเทปแม่เหล็ก





เทปแม่เหล็กสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะดังนี้
1. เทปม้วน (Reel Tape) ลักษณะเป็นเนื้อเทปพันอยู่รอบวงล้อขนาดใหญ่ จะมีความกว้างประ มาณ ½ นิ้ว และมีเส้นผ่าศูนย์ กลาง 10 ½ นิ้ว ความยาวมีหลายขนาด 300,600,1200,2400 ฟุตเวลาทำงานต้องเอาไปใส่ไว้ในเครื่องอ่านเทปขนาดใหญ่ ตัวม้วนเทปจะหมุนไปมา เพื่อค้นหาข้อมูลโดยจะมีความ เร็วค่อนข้างช้าเทปม้วน (Reel Tape)นิยมใช้กับมินิและเมนเฟรม ลักษณะจะเป็นเทปพันรอบวงล้อขนาดใหญ่ กว้างประมาณ ? นิ้ว เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 ? นิ้ว ความยาวหลายขนาด เช่น 600, 1,200, 2,400 ฟุต เวลาทำงานจะต้องเอาไปใส่ไว้ในเทปไดร์ฟที่มีขนาดโต ตัวม้วนเทปก็จะหมุนไปหมุนมาเพื่อค้นหาข้อมูล โดยจะมีความเร็วค่อนข้างช้า และมีความจุตั้งแต่ 200 MB ขึ้นไป การป้องกันการบันทึกข้อมูลผิดม้วนใช้วงแหวนป้องกันแฟ้มข้อมูล (File protection ring) โดยปกติจะไม่ใส่วงแหวนนี้ในม้วนเทป ยกเว้นเมื่อต้องการบันทึกข้อมูลลงบนเทป เมื่อเทปถูกใช้ในอุปกรณ์ขับเทปโดยไม่มีวงแหวนป้องกันแฟ้มข้อมูล เทปนั้นจะใช้อ่านได้อย่างเดียว
2. เทปตลับ (Tape cassette and cartridges) มีความคล่องตัว คือจะบรรจุมาในกล่องพลาสติก เวลาใช้ก็เพียงแต่เสียบตลับเทปลงในอุปกรณ์อ่านเทปได้เลยซึ่งนับว่าสะดวกกว่าเทปแบบม้วนอย่างมาก เทปตลับ (Tape Cassette and Cartridge)นิยมใช้ในพีซี เวิร์กสเตชัน มินิคอมพิวเตอร์ ตัวเทปจะบรรจุมาในกล่องพลาสติก เวลาใช้ก็เพียงแต่เสียบตลับเทปลงในอุปกรณ์ขับเทปได้เลย เหมือนกับการเสียบม้วนวีดีโอเข้าเครื่องอ่าน เทปตลับที่นิยมใช้ในปัจจุบันจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ เทปขนาด ¼ นิ้ว และเทปเสียงดิจิตอล
2.1 เทปขนาด 1/4 นิ้ว เรียกได้อีกอย่างว่า Quarter-Inch Cassette (QIC) คาร์ทริดเทปที่นิยมใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะมีขนาดกว้าง 4 นิ้ว 6 นิ้ว หนา ¼ นิ้ว ที่ใช้กับพีซีกว้าง 2 นิ้ว ยาว 3 นิ้ว หนา 0.5 นิ้ว เป็นต้น เทปประเภท QIC มีความจุ 40, 80, 120 หรือ 250 MB ขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีแบบ High density ยาว 1,000 ฟุต เก็บข้อมูลได้มากกว่า 1.35 GB ขึ้นไปอีกด้วย
2.2 เทปเสียงดิจิตอล (Digital Audio Tape หรือ DAT) เล็กเกือบเท่าตลับเทปเพลงทั่วไปกว้าง ประมาณ 2 นิ้ว ยาว 3 นิ้ว หนา 0.5 นิ้ว สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท โดยสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 3 GB ขึ้นไปต่อ 1 ม้วน มีการนำวิธีบันทึกข้อมูลแบบ Helical-scan recording ซึ่งเหมือนกับที่ใช้ในเครื่องเล่นวีดีโอ เทคนิคนี้จะมีการวางหัวอ่าน-เขียนเทปให้อยู่ในแนวเอียงเล็ก น้อย เมื่อเทปวิ่งผ่านหัวอ่านก็จะมีการเขียนข้อมูลลงในเทปแบบเฉียง ๆ การบันทึกข้อมูลแบบนี้ทำให้บันทึกได้เร็วกว่า QIC และความจุข้อมูลก็สูงกว่า แต่ราคาค่อนข้างสูง นอกจากนี้ยังมีเทปขนาดเล็กสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
· เทปขนาด ¼ นิ้ว นิยมใช้ในเครื่องพีซี รวมไปถึงเวิร์กสเตชันและมินิ คอมพิวเตอร์ หลายตระกูลซึ่งบริษัท 3M ได้นำออกมาจำหน่ายเป็นรายแรก
· เทปขนาด 8 มิลลิเมตร คล้ายตลับเทปที่ใช้ในวีดีโอเทป แต่มีขนาดเล็กมากเกือบเท่าตลับเพลงทั่วไป ได้มีการนำวิธีการบันทึกข้อมูลแบบใหม่มาใช้ เรียกว่า เฮลิคัลสแกนเรคอร์ดดิ้ง (Helical-scan Recording) เทคนิคนี้จะมีความเร็วสูงมาก และความจุก็สูงกว่า แต่ก็มีราคาค่อนข้างสูง


ข้อดีของเทปแม่เหล็ก
· สะดวกต่อการโยกย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
· เหมาะกับงานสำรองข้อมูล (Backup Data) ในหน่วยงาน
· เหมาะกับงานที่มีการเข้าถึงข้อมูลแบบ Sequential file หรือแบบเรียงลำดับ ข้อมูล โดยจะมีการทำงานเกือบทั้งแฟ้มข้อมูลในเทปนั้นๆ
· เรคอร์ดมีความยาวได้ไม่จำกัด
· สามารถนำม้วนเทปที่มีการบันทึกไปแล้ว กลับมาใช้งานได้อีก
ข้อเสียของเทปแม่เหล็ก
· ไม่สามารถมองเห็นข้อมูลที่บันทึกได้
· การเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบลำดับ นั่นคือ การค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ต้อนค้นหาตั้งแต่ต้นเทปไปจนถึงปลายเทป ซึ่งต้องใช้เวลาในการค้นหาพอสมควร
การบันทึกข้อมูล
การอ่านหรือบันทึกข้อมูลจะกระแบบลำดับ ในการทำงานม้วนเทปจะหยุดหมุนเพื่ออ่าน / เขียน ข้อมูลหนึ่ง ๆ แล้วหยุดหมุนโดยฉับพลัน ก่อนที่จะอ่าน / เขียน ข้อมูลต่อไป ดังนั้นจึงมีการป้องกันการฉีกขาดของสายเทปโดยให้สายเทปทั้งสองข้าง ห้อยเปฯบวก ( tape loop ) ลงในช่องสูญญากาศ ส่วนการบันทึกข้อมูล กระทำโดยให้สายเทปเดินผ่านหัวอ่าน / เขียน ข้อมูล ทำให้สารแม่เหล็กที่เคลือบอยู่บนสายเทปรวมตัวกันเป็นจุดแม่เหล็กที่มีความเข้มมากหรือน้อยตามรหัสของข้อมูลที่ได้รับจากหัวเทป พื้นผิวของสายเทปสามารถลองรับการอ่านและเขียนข้อมูลได้ประมาณ 20,000 – 50,000 ครั้ง ( ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเนื้อเทป ) มีความจุข้อมูลได้ตั้งแต่ 5-28 ล้านตัวอักษร ( 5 – 28 MB ) โดยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นในการบันทึกข้อมูลเนื้อเทปข้อมูลที่บันทึกบนสายเทปจะอยูในรูปของจุดแม่เหล็ก และรหัสข้อมูลที่บันทึกมักเป็นรหัสที่ใช้เครื่องนั้น ๆ

ในการบันทึกหรืออ่านข้อมูลการทำงานของเครื่องอ่านหรือบันทึกข้อมูลบนเทป จะต้องมีความ เร็วพอเหมาะในการเคลื่อนผ่านเนื้อเทป เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลบางสวนขาดหายไป ดังนั้นในเนื้อเทปจะต้องมีเนื้อที่ว่างสำหรับเป็นที่พักหัวอ่านหรือบันทึก ที่มีขนาดประมาณ 0.5 – 0.75 นิ้ว ซึ่งเรียกว่าแกป ( gap ) คือ
1. ช่องว่างระหว่างเรคอร์ด ( IRG : inter regord gap )

IRG
regord1
IRG
Regord2
IRG
Regord3
IRG


1 block
2. ช่องว่างระหว่างบล็อค ( IBG : inter block gap )

IBG
REC1
REC2
REC3
REC4
REC5
IBG


6 records
บล็อก เป็นกลุ่มข้อมูลที่เล็กที่สุดที่สามารถโอนย้ายจากหน่วยความจำภายนอกไปไว้ในหน่วย ความจำหลัก ภายในการเข้าถึงข้อมูลแต่ละครั้ง
ในการบันทึกข้อมูล ถ้าทำการบันทึกข้อมูลเป็นเรคอร์ดจะทำให้ปริมาณของเนื้อที่ว่างมีจำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องมีการรวมเรคอร์ด และหลายเรคอร์ดเป็นบล็อก เพื่อจะได้เพิ่มเนื้อที่บรรจุข้อมูลให้มากขึ้น ข้อมูลจะถูกบันทึกตรงบริเวณที่เคลือบด้วยเหล็กออกไซด์ ในลักษณะที่เป็นจุดเล็ก ๆ จุดแม่เหล็กหนึ่งจุดใช้แทนข้อมูลหนึ่งบิต โดยจุดแม่เหล็กที่เป็นแนวขนานตามความยาวของเทปเรียกว่า แทร็ก ( track ) ในการแทนค่าข้อมูลจะมีอยู่ 2 แบบ คือ
1) ระบบ 7 แทร็ก ใชข้กับข้อมูลที่แทนด้วยรหัสข้อมูลแบบ บีซีดี ( BCD ) 2) ระบบ 9 แทร็ก ใช้กับข้อมูลที่แทนด้วยรหัสเอบซีดิก ( EBCDIC ) หรือเอสกี ( ASCII )
ลักษณะการบันทึกข้อมูลของเทป มีดังนี้
1) Single File Volume ในเทป 1 ม้วน จะบันทึกข้อมูล 1 ไฟล์ 2) Multiple File Volume ในเทป 1 ม้วน ประกอบด้วยข้อมูลหลาย ๆ ไฟล์ 3) Multiple Volume File ข้อมูลใน 1 ไฟล์ จะถูกบันทึกในเทปหลาย ๆ ม้วนจะมีการจัดเรียงข้อมูลแบบ Single File Volutne แต่จบลงด้วย EOV ( End of Volume ) และม้วนที่จบไฟล์จะจบด้วย EOF ( End of File ) ดังแสดงในรูป
ก. single file volume



Data area


Volume label head label tape mark tape mark trailer label
ข. multiple file volume


Data area
EOF

data area
EOF

Volumn
Label
Head
Label

Trailer
Label
Head
Label

Trailer
Label

คุณสมบัติของเทปแม่เหล็กมีการเข้าถึงข้อมูลตามลำดับเมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วจะมีความเชื่อ ถือสูง (high – reliable ) ค่าใช้จ่ายต่ำ ( low – cost ) และมีความจุมาก ( hing – capacity ) นิยมใช้สำหรับแฟ้มข้อมูลหลักที่ใหญ่ ๆ สำเนาข้อมูล และเก็บข้อมูลแฟ้มประวัติ เพราะสะดวกในการเคลื่อน ย้ายประสิทธิภาพของเทปแม่เหล็ก คาดว่าจะมีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นต่อไป
การตัดต่อวีดีโอ
เมื่อเราได้ถ่ายทำรายการมาเรียบร้อยแล้ว โดยบันทึกมาในม้วน วีดิโอ ภาพและเสียงที่บันทึกมานี้ คงจะยังไม่สามารถนำไปเผยแพร่ได้ เพราะยังไม่มีความสมบูรณ์ คือยังไม่ได้ตกแต่ง และตัดต่อให้เป็นไปตาม เนื้อหา เรื่องราวที่เราต้องการ เพราะการถ่ายทำมานั้น จะมีส่วนที่ไม่ดี หรือส่วนที่ไม่ต้องการ ติดมาด้วย และที่สำคัญคือ เป็นการถ่าย มาเป็น จำนวนมาก เพื่อนำมาเลือกเอาส่วนที่ดีที่สุด ขั้นตอนที่ต้องดำเนินการก่อนที่จะออกสู่สายตาผู้ชม คือ นำมาตัดต่อ และบันทึกเสียง ให้เรียบร้อยเสียก่อนในส่วน นี้แหละครับ ที่เรา จะนำมาพูดถึงกัน ว่า จะนำมาตัดต่อได้อย่างไร เทคนิคการตัดต่อนั้น จะใช้วิธีการตัดต่ออย่างไร ขึ้นอยู่กับว่า เรามีอุปกรณ์ เครื่องมืออย่างไร ถ้า มีเครื่องมือที่มีคุณภาพ ก็สามารถตัดต่อได้โดยง่าย แต่ก็ต้องลงทุนแพงหน่อย แต่ถ้าไม่มีเครื่องมือ ก็ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวในการตัดต่อ ดังนั้นโดยทั่วๆ ไป เราจะมีวิธีการตัดต่อ 3 ระดับคือ
1. การตัดต่อ ภายในกล้อง ( Camera Editing ) เหมาะสำหรับ ท่านที่ มีเฉพาะ กล้องถ่ายวีดิโอ แต่ไม่มีเครื่องตัดต่อ สามารถใช้ความสามารถ ในการลำดับภาพ และความสามารถของกล้อง ก็สามารถตัดต่อภาพ ได้ระดับหนึ่ง นำไปฉายแบบมือสมัครเล่นได้
2. การตัดต่อด้วยเครื่องตัดต่อ จะต้องนำภาพที่บันทึกมาได้ มาตัดต่อ ด้วยเครื่องตัดต่อ ซึ่งมีทั้งระบบ Umatic และระบบ VHS แล้วแต่ว่า เรามีเครื่องแบบใด การตัดต่อแบบนี้ ต้องอาศัยความสามารถ และทักษะพิเศษ ของช่างเทคนิคอย่างมาก โดยใช้เครื่อง ดังภาพ




3. การตัดต่อด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นวิธีการที่ใช้กันส่วนมากในปัจจุบัน ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งเครื่อง PC และเครื่อง MAC แต่ส่วนมากจะใช้ เครื่อง MAC เพราะคุณภาพจะสูงกว่า แต่ราคาก็สูงตามไปด้วย ราคา อุปกรณ์ ต้องเป็นเลข 7 หลักขึ้นไป

การตัดต่อวีดิโอ ด้วยเครื่อง คอมพิวเตอร์




เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่นำมาใช้ในการตัดต่อ วีดิโอ มีทั้งเครื่อง MAC และเครื่อง PC แล้วแต่ว่า เรามีเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบใด แต่ไม่ได้ หมายความว่า มีเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ก็สามารถที่จะตัดต่อ วีดิโอได้ จะต้องมีอุปกรณ์อื่นๆ ประกอบอีกหลายประการ จึงจะสามารถตัดต่อ วีดิโอได้ จะใช้อุปกรณ์ อะไรประกอบบ้าง ก็ต้องขึ้นอยู่กับเป้าหมาย ของการนำเอา วีดิโอ ไปใช้ ว่าเอาไปใช้ในรูปแบบใด เช่น บันทึกเป็นม้วน วีดิโอเพื่อใช้กับเครื่องเล่น วีดิโอเทปทั่วๆ ไป หรือบันทึกลงบนแผ่น CD-ROM เพื่อเป็นสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งจะใช้อุปกรณ์ประกอบต่างกัน
จะใช้เครื่อง MAC หรือ PC
ถ้าจะถามว่า เครื่องแบบไหนดีกว่ากัน ก็ต้องตอบว่า เครื่อง MACINTOSH ย่อมจะดีกว่าอย่างแน่นอน เพราะมีความสามารถ และ ศักยภาพ ในการทำงานด้าน วีดิโอ ได้เป็นอย่างดี แต่ก็ต้องลงทุน ด้วยเงินจำนวนค่อนข้างมาก และอุปกรณ์แต่ละอย่างที่นำมาต่อพ่วง ก็ราคาค่อนข้างแพง และที่สำคัญ ไม่ค่อยได้มีโอกาสเห็น หรือใช้เครื่องเพราะมีใช้น้อยมาก นอกจากใน Studio ใหม่ๆ เท่านั้น แต่สำหรับเครื่อง PC เราค่อนข้างจะคุ้นเคยทั้งเครื่อง และโปรแกรม ที่ใช้ จึงใช้งานได้สะดวก แต่ก็มีข้อจำกัดเช่น เดียวกัน คือ ไม่สามารถ ใช้เครื่องที่ใช้งานทั่วๆ ไปได้ ต้องใช้เครื่องที่มี spec ค่อนข้างสูง และอุปกรณ์บางตัวต้องใช้อุปกรณ์ที่พิเศษ เพื่อนำมาใช้งาน ด้าน video โดยเฉพาะ ทำให้เครื่องมีราคา ค่อนข้างแพงกว่าเครื่อง PC โดยทั่วๆ ไปเท่าที่ทดลองใช้ เครื่อง PC ควรจะเป็นรุ่นที่มี ความเร็ว มากว่า 600 MHz ขึ้นไป เช่น Pentium III หรือ DURON แต่ที่สำคัญ RAM อย่างต่ำไม่ควรต่ำกว่า 128 MB และ Harddisk ควรเป็นแบบ SCSI และต้องมีอุปกรณ์อื่นๆ ประกอบด้วย อย่างน้อยก็ต้องมีอุปกรณ์ในการแปลงสัญาณ วีดิโอ เช่น video card เราจะใช้เครื่องแบบไหน ก็ตัดสินใจเองก็แล้วกัน
นอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ต้องมีอุปกรณ์อะไรอีกบ้าง
1. เครื่องเล่นและบันทึก วีดิโอเทป จะต้องเลือกให้เหมาะสม และใช้ได้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเข้ากันได้กับ video card เครื่องเล่น และบันทึก video ปัจจุบัน อาจจะเลือกใช้ได้หลายระบบ สำหรับที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ระบบ คือ
1.1 ระบบ BETA เป็นระบบที่ใช้กับม้วนเทปแบบ BETA ที่ใช้ในการถ่ายทำวีดิโอที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้เฉพาะใน studio เครื่องระบบนี้ ไม่ใช่เครื่องที่ใช้ตามบ้านทั่วๆไป ต้องบันทึกลงระบบ VSH เสียก่อนจึงจะนำไปใช้ตามบ้านพักได้ เครื่องระบบนี้ มีคุณภาพของภาพ และเสียง ดีมากใช้ในการบันทึก และทำต้นฉบับม้วนวีดิโอเทป



1.2 ระบบ UMATIC เป็นเครื่องเล่น และบันทึกวีดิโอ ระบบเก่า ที่ใช้กับกล้องถ่าย วีดิโอเทประบบ Umatic ซึ่งส่วนมาก จะใช้กับเครื่องตัดต่อในระบบ Umatic ที่ไม่ได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์



1.3 ระบบ VHS เป็นเครื่องเล่น และบันทึก วีดิโอ ที่เราเห็นกันคุ้นตาอยู่ทั่วๆ ไป หรือเครื่องที่เราใช้อยู่ ตามบ้าน จะใช้กับม้วนเทป ในระบบ VSH ที่เราคุ้นเคยกันดี



2. เครื่องเล่นแผ่น CD ซึ่งส่วนมาก นำมาไว้ใช้ในการเปิดเพลงประกอบการทำ วีดิโอ เพื่อเปิดเพลง หรือ sound effect จากแผ่น CD แล้วบันทึกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ จากตัวอย่างเครื่องตามภาพ เป็นเครื่องที่ใส่แผ่น CD ได้ครั้งละ 5 แผ่น




3. เครื่องเล่นเทปเสียง ใช้ในการเปิดเทปเสียง อาจจะเป็นเสียงเพลง หรือเสียงจากการบรรยาย หรือเสียงอื่นๆ ที่จะใช้ประกอบวิดิโอเทป เครื่องเล่นเทปเสียง ที่ใช้งาน มี 2 แบบ คือ แบบที่ 1 แบบเทป คาสเซ็ท แบบที่ 2 แบบบันทึกลงแผ่นบันทึกเสียง



4. เครื่องบันทึกเสียง พร้อมลำโพงเสียง




เป็นอุปกรณ์ ที่ใช้ในการบันทึก เสียงประกอบวีดิโอ โดยเฉพาะเสียงบรรยาย ที่จะตัองบันทึก เสียงผ่าน Microphone เพื่อเป็นเสียงประกอบ วีดิโอ ซึ่งอาจจะบันทึกลงไปในคอมพิวเตอร์ โดยตรง หรือบันทึกเก็บไว้ ในเทปคาสเซท เสียก่อน แล้วค่อยบันทึกลงคอมพิวเตอร์ ที่หลังก็ได้
5. Monitor เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการดูภาพ ในขณะที่เรากำลังตัดต่อ หรือภาพ วีดิโอที่ตัดต่อแล้ว พร้อมที่จะบันทึกลงม้วนเทปเพื่อนำไปใช้ ลักษณะคล้าย เครื่องรับ TV แต่มีคุณภาพ และความ สามารถในการใช้งานที่สูงกว่า เราอาจจะไม่ใช้ก็ได้ โดยดูจากMonitor ของเครื่องคอมพิวเตอร์ แทนก็ได แต่อาจจะไม่ชัดเจน เพราะมีขนาดเล็กกว่า แต่ถ้าเราใช้ Monitor ของคอมพิวเตอร์ ที่มีขนากใหญ่ ก็จะไม่มีปัญหาในเรื่องนี้





เครื่องตัดต่อระบบ Linear Editing




ระบบนี้ เป็นระบบที่ตัดต่อภาพและเสียงบนเครื่องเทประบบดิจิตอล (Digital) เครื่องเทประบบนี้มีขั้นตอนในการตัดต่อด้วยวิธีง่ายๆ ไปจนถึงขั้นที่ค่อนข้างซับซ้อน เริ่มที่การตัดต่อที่เรียกว่า 'A' RollEditing ระบบการตัดภาพและเสียงบน เครื่องเทปที่เป็นแหล่งภาพและเสียงเพียงเครื่องเดียว คือ 'A' Player ตามด้วย A/B Roll Editing เป็นระบบการตัดต่อที่ใช้เทปที่เป็นแหล่งข้อมูลภาพและเสียงของเครื่อง คือ 'A' และ 'B' เพื่อผู้ที่ทำการตัดต่อหรือลำดับภาพและเสียงสามารถที่จะเลือกได้ว่าจะใช้ช่วงไหน ตอนใดของภาพและเสียงแต่ละม้วนในเทป 'A' และ 'B' งานตัดต่อในระบบนี้มาถึงขั้นตอนที่ยุ่งยากที่สุด ที่ระบบ Hybrid (Hybrid Editting) ซึ่งเป็นระบบการตัดต่อภาพและเสียงที่ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามา ตัดต่อภาพและเสียง(Edit Station) ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์มีโปรแกรมการตัดต่อที่ชื่อ ES-7 ซึ่งสามารถทำงานได้สองระบบคือระบบ Linear Editing ซึ่งตัดต่อภาพและเสียงบนเนื้อเทป กับระบบ Non-Linear Editing ต่อไป
เครื่องตัดต่อระบบ Non-Linear Editing


การตัดต่อในระบบ Non-Linear Editing สามารถตัดต่อได้ทั้งภาพและเสียง ลักษณะสำคัญของระบบนี้ได้แก่การตัดต่อภาพและเสียง โดยจะทำลงบนคอมพิวเตอร์ (Computer Base System) ส่วนข้อมูลที่เป็นภาพและเสียงอาจจะบันทึกอยู่ในม้วนเทป หรือมาจากฐานข้อมูลอื่น ที่เชื่อมโยงด้วย Fiber Channel ห้องตัดต่อ Nonlinear Editing สามารถผลิตชิ้นงาน ที่มีลูกเล่นแพรวพราวได้โดยใช้ Software Adobe Premiere เช่น การซ้อนตัวหนังสือ การซ้อนภาพ เป็นต้น
ระบบ Non-Linear Editing Online
ห้อง Non-Linear Editing Online จัดว่าเป็นห้องตัดต่อภาพและเสียงที่ใช้อุปกรณ์ในการตัดต่อที่มีเทคนิคสูงประกอบไปด้วย คอมพิวเตอร์สำหรับใช้ตัดต่อ ซึ่งใช้การ์ดจอภาพ TAGA-2000 ที่ช่วยให้การตัดต่อเป็นไปอย่างรวดเร็ว (Real Time) มีลูกเล่นในการทำภาพพลิกแพลงได้หลายรูปแบบมากกว่า Adobe Premiere กล่าวคือ เวลาผสมเสียง สามารถที่จะแยกซ้าย-ขวาได้ หรือสามารถตัดต่อเสียงได้ทั้งระบบ Stereo และ Mono ในศูนย์มีเดียมีห้องตัดต่อ Non-Linear Editing Online จำนวนหนึ่งห้อง หนึ่งชุด ตัดต่อ ไว้รองรับผู้ที่ต้องการแสวงหาความเป็นเลิศในการร้อยเรียงภาพและเสียง




ขั้นตอนการตัดต่อวีดิโอ
1. เตรียมศึกษา script2. เตรียมต้นฉบับ วีดิโอเทป3. บันทึกภาพลงเครื่องคอมพิวเตอร์4. ตัดต่อ5. บันทึกเสียงประกอบ6. นำเสียงเข้าไปประกอบกับ วีดิโอ7. ทำ caption8. บันทึกวีดิโอจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ลงม้วนเทป


การถ่าย Green Screen หรือ Blue Screen
เทคนิคการถ่าย Green Screen หรือ Blue Screen
1. ภาพที่ถ่ายควรจะจัดแสงให้ตรงกับภาพ Background ทิศทางของแสงมาอย่างไรก็ควรจะเป็นอย่างนั้น เวลาถ่าย Green Screen หรือ Blue Screen ก็พยายามให้แบบเดินออกมาให้ห่างตัวฉาก Green หรือ Blue ให้มากที่สุดครับ เพื่อให้สีเขียวหรือสีฟ้านั้นมันสะท้อนไฟมาตกตรงตัวแบบ ( เราเรียกมันว่า Spill หรือการหกเลอะของสีครับ ) จัดไฟบน Blue หรือ Green ให้เอาไฟตัดระหว่างแบบกับฉากด้วยเพื่อตัดแสงสะท้อนของภาพออกครับ พยายามจัดไฟให้ฉาก Blue และ Green มีแสงสม่ำเสมอเท่ากันหมด ไม่ใช่สว่างจุดหนึ่ง มืดจุดหนึ่ง เวลาแยกสีจะมีปัญหาแยกยากเพราะช่วงสีหรือความสว่างต่างกันเกินไป 2. ถ้าเป็นไปได้ให้แบบหลีกเลี่ยงสีเขียวหรือฟ้า เพราะมันจะทำให้ภาพกลืนกับฉาก ถ้าไม่ได้ก็เหนื่อยเพิ่มนิดหน่อย 3. คอยดูเรื่องแสงสะท้อนของพวกโลหะด้วย พวกนี้จะสะท้อนและอมสีไว้พอสมควร อะไรที่เป็นกระจก ( พวกชุดแต่งดิสโก้โบราณ หรือพวกชุดไทยเป็นต้น ) จะเห็นสีของฉากครับ ต้องระวังหน่อยนะครับ เวลาตัดสีในคอมก็อาจจะเปลี่ยนสีเขียวไปเป็นเฉดสีอื่นเอาหรือว่าจะเป็นแบบอื่นๆ ก็ได้ 4. อย่าลืมทำ Depth of Field ให้ฉากหลังของภาพ ถ้าไม่อยากก็ให้มั่นใจว่าฉากหลังจะไม่โดดกับฉากหน้า blur ตรงช่วงขอบๆของภาพแบบหลังจากเอาสีเขียวหรือน้ำเงินออกไปแล้ว (การเอาสีออกนั้นศัพท์เทคนิคเรียกว่า Keyเช่นKeyสีเขียวออกหรือKeyสีฟ้าออกเป็นต้นครับ) 5. อย่าพยายามเหมา Key ทีเดียว เริ่มจากสีที่มีมากและ Key ง่ายก่อนแล้วค่อยลดลงไปที่สีที่ยากขึ้นและใกล้ตัวของแบบถ่ายภาพมากขึ้น 6. ปรับสีของภาพให้ใกล้เคียงกับสีของ Background หรือกลับกัน ดูโทนสีช่วงเงา ช่วงกลาง และช่วงไฮไลท์ (ช่วงสว่าง) ว่ามันตรงกับสีของแบบหรือเปล่า 7. ระวังเรื่องความสว่างและความมืด แบบไม่ควรโดดจากฉากหลังที่เอามาใส่ ควรจะให้มันเข้ากันได้ดี 8. ถ้าจำเป็น พยายามหาทิศทางของแสงเพื่อทำ Lighting Effect ระวังภาพโดดด้วย 9. อาจจะใช้ยางลบช่วยลบสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปบ้างก็ได้ บางอย่างมันทำให้ยากต่อการ Key สีออกจากแบบ 10. ระวังมุมกล้องของฉากและแบบ บางทีฉากอาจจะใหญ่ไป หรือแบบอาจจะใหญ่ไป อาจจะไม่ถูกสัดส่วนของภาพ หรืออาจจะดูแล้วโดดๆ
11. ตั้ง Noise หรือ ลบ Noise ของแบบและฉากให้มันเท่าๆกันด้วย บางทีภาพแบบใสกิ้งแต่ฉากนี่ Noise กระจายเหมือนภาพโลโม่

Blue Screen และ Green Screen แตกต่างกันอย่างไร
Blue screen กับ Green screen ต่างกันที่สีของ background เท่านั้น โดยการจะเลือกใช้สีไหน ขึ้นอยู่กับว่า foreground ที่เราถ่ายไม่มีสีไหนเลย หรือถ้าจำเป็นต้องมี ก็มีให้น้อยที่สุด ส่วนใหญ่ที่เลือกถ่ายกับสีเขียวมากกว่าคือ - ร่างกายมนุษย์มีสีเขียวอยู่น้อยสุด (ทำให้คีย์สีออกได้ง่าย) - greenscreen ให้ค่าความสว่างแสงเยอะกว่า blue screen (ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดไฟ และทำให้เก็บภาพได้ชัดขึ้น ไม่เจอ noise เท่าไร) - กล้องวิดีโอระบบ digital ส่วนใหญ่ channel สีเขียวจะเก็บค่า Luminance ได้ดีที่สุด(เก็บราย ละเอียดแสงได้เยอะกว่า channel สีอื่นๆ ทำให้มีความละเอียดในการแยกสีเขียวออกมาได้ดี)
























ภาพที่ได้จากการรวม 2 ภาพที่ผ่านมา

















รูปแสดงวิธีการ การซ้อมภาพด้วยกรีนสกรีน